รายงานการวิจัยการศึกษาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการ : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมผ้าไหมในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น = The study of potential competitiveness of entrepreneurs : case study of silk industry in Chonnabot district, Khonkaen Province / จีราวัฒน์ มันทรา, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
By: จีราวัฒน์ มันทรา, ผู้วิจัย.
Contributor(s): มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. คณะวิทยาการจัดการ.
Call number: HD41 จ646 2559 Material type: 
Item type | Location | Location | Call number | Copy number | Barcode | Status | Date due |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
ODI General Collection | ODI General Collection | HD41 จ646 2559 (Browse shelf) | 1 | 1000531751 | Available |
Browsing ODI General Collection Shelves , Shelving location: ODI General Collection , Collection code: General Collection Close shelf browser
บรรณานุกรม: แผ่นที่ [125]-129.
การวิจัยเรื่องการศึกษาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการ : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมผ้าไหมในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Methodology) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology) ที่มุ่งศึกษาวิจัยเพื่อศึกษาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผ้าไหม ในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานกิจกรรมภายในห่วงโซ่คุณค่าของผู้ประกอบการในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น และเพื่อวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขันและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผ้าไหม ในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ประชากรในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหมและกลุ่มจัดจำหน่ายในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น จำนวน 56 ราย ซึ่งประกอบด้วย เกษตรกรผู้เป็นสมาชิกกลุ่มทอผ้าไหม ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น กลุ่มทอผ้าไหมและกลุ่มจัดจำหน่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวตอร์สำเร็จรูปทางสถิติประมวลผลข้อมูล วิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย มาใช้ในการวิเคราะห์ของงานวิจัยครั้งนี้ ผลการศึกษามีดังนี้ 1. การศึกษาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผ้าไหม ในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ด้านสภาวะการแข่งขันในธุรกิจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ สามารถต่อรองราคากับผู้ขายส่งสินค้าในการสั่งซื้อสินค้าแต่ละครั้งได้ รองลงมาได้เข้าร่วมกลุ่มกับทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ในการสั่งซื้อสินค้ากับผู้ขายส่ง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือจากรัฐบาลในการปรับปรุงกิจการ และให้ความรู้ใหม่ ๆ ในการดำเนินงานการขาย 2. ผลการศึกษาผลการดำเนินงานกิจกรรมภายในห่วงโซ่คุณค่าของผู้ประกอบการในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น กิจกรรมหลัก (Primary Activities) ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาป็นรายด้าน พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการให้บริการ (Service) รองลงมาคือด้านการนำวัตถุดิบเข้า (inbound Logistics) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านการส่งผลิตภัณฑ์ออก (Outbound Logistics) ตามลำดับ 3. ผลการดำเนินงานกิจกรรมภายในห่วงโซ่คุณค่าของผู้ประกอบการในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการจัดซื้อจัดหา (Procurement) รองลงมาคือด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านการพัฒนาเทคโนโลยี (Technology Development) ตามลำดับ 4. กลยุทธ์ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผ้าไหม ในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ประกอบการในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น มีกลยุทธ์ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ สินค้าและบริการมีคุณภาพ รองลงมาคือการให้บริการมีความทันสมัย ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ มีการนำระบบเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ ทักษะและความชำนาญอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ.
รายงานวิจัยนี้ได้รับทุนจากกองทุนสนับสนุนงานวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557.
There are no comments for this item.