รายงานการวิจัยเรื่องวาทกรรมการพัฒนาทุนทางสังคม : ความยั่งยืนของชุมชนที่เข้มแข็ง = Social capital discourse : sustainability of strong communities / โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวลัญช์ โรจนพล, หัวหน้าโครงการ, รองศาสตราจารย์ ดร.จุมพล หนิมพานิช, ผู้ร่วมโครงการ.
By: วรวลัญช์ โรจนพล, ผู้วิจัย.
Contributor(s): จุมพล หนิมพานิช, ผู้วิจัย.
| มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Call number: HM708 ว45 2563 Material type: 


Item type | Location | Shelving location | Call number | Copy number | Barcode | Status | Date due |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
CB General Collection | CB General Collection | HM708 ว45 2563 (Browse shelf) | 1 | 1000414403 | Available | |
![]() |
LP General Collection | LP General Collection | HM708 ว45 2563 (Browse shelf) | 1 | 1000423416 | Available | |
![]() |
NK General Collection | NK General Collection | HM708 ว45 2563 (Browse shelf) | 1 | 1000433230 | Available | |
![]() |
NR General Collection | NR General Collection | HM708 ว45 2563 (Browse shelf) | 1 | 1000406499 | Available | |
![]() |
NW General Collection | NW General Collection | HM708 ว45 2563 (Browse shelf) | 1 | 1000441335 | Available | |
![]() |
ODI General Collection | ODI General Collection | HM708 ว45 2563 (Browse shelf) | 1 | 1000530774 | Available | |
![]() |
ODI General Collection | ODI General Collection | HM708 ว45 2563 (Browse shelf) | 2 | 1000530775 | Available | |
![]() |
PB General Collection | PB General Collection | HM708 ว45 2563 (Browse shelf) | 1 | 1000450867 | Available | |
![]() |
SK General Collection | SK General Collection | HM708 ว45 2563 (Browse shelf) | 1 | 1000458970 | Available | |
![]() |
UB General Collection | UB General Collection | HM708 ว45 2563 (Browse shelf) | 1 | 1000469233 | Available | |
![]() |
UD General Collection | UD General Collection | HM708 ว45 2563 (Browse shelf) | 1 | 1000477605 | Available | |
![]() |
YL General Collection | YL General Collection | HM708 ว45 2563 (Browse shelf) | 1 | 1000487708 | Available |
ชื่อเรื่องจากปก.
บรรณานุกรม: หน้า [128]-131.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบททางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การบริหารและการเมืองที่มีผลต่อการพัฒนาทุนทางสังคม 2) วาทกรรมการพัฒนาทุนทางสังคมที่มีผลต่อแนวทางหรือหนทางสู่ความยั่งยืนของชุมชนที่เข้มแข็ง 3) ปัจจัยที่สนับสนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนของชุมชนที่เข้มแข็ง และ 4) เสนอแนวทางการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่จะช่วยคลี่คลายต่อการพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนของชุมชนที่เข้มแข็ง การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ชุมชน 9 ชุมชน ใน 8 จังหวัด ภาคเหนือ การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 1) บริบททางด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การบริหาร และการเมืองที่มีผลต่อการพัฒนาทุนทางสังคม มีค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.37) บริบททางเศรษฐกิจ ได้แก่ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมทำให้นายทุนเห็นแก่ตัว ส่งผลให้สมาชิกในชุมชนไม่สามารถพึ่งพิงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เหมือนเดิม บริบททางสังคม ได้แก่ ชาวบ้านมีความร่วมมือร่วมใจในพื้นที่ บริบทด้านบริหารและการเมือง ได้แก่ ผู้นำชุมชนท้องถิ่น (ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้อาวุโส หรือพ่อหลวง) มีความน่าเชื่อถือและมีความไว้เนื้อเชื่อใจ 2) วาทกรรมการพัฒนาทุนทางสังคมที่มีผลต่อแนวทางหรือหนทางสู่ความยั่งยืนของชุมชนที่เข้มแข็ง ค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (t = 3,43) โดยรัฐมีบทบาทหลัก ในการประกอบสร้างและให้ความหมายคำว่า “ทุนทางสังคม" 3) ปัจจัยที่สนับสนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทุนทางสังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความยั่งยืนของชุมชนที่เข้มแข็ง มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมที่ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.42) ปัจจัยสนับสนุน เช่น บทบาทของผู้นำชุมชน การสร้างกฎเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันในชุมชน เป็นต้น ปัญหาอุปสรรค ได้แก่ การที่คนในชุมชนต้องประกอบอาชีพในแต่ละครัวเรือน การที่สังคมมีผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ และความห่างไกลเชิงพื้นที่ 4) แนวทางการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่จะช่วยคลี่คลายต่อการพัฒนาทุนทางสังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความยั่งยืนของชุมชนที่เข้มแข็ง มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมที่ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X = 3.53) ได้แก่ การสร้างความมีอยู่มีกินให้กับคนในชุมชน การสร้างจิตสำนึกต่อส่วนรวมให้กับคนหนุ่มสาว คนวัยทำงาน และการพัฒนาทุนมนุษย์ผ่านระบบการศึกษามุ่งเน้นให้เด็กคิด วิเคราะห์ และจัดการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ.
การวิจัยครั้งนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
There are no comments for this item.