ผลของโปรแกรมการจับคู่แปรงฟันต่อการลดแผ่นคราบจุลินทรีย์ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อำเภอเมือง จังหวัดน่าน = The effect of Partner Brushing Program on plaque reduction among grade five students, Muangnan District, Nan Province / นางสาววิชชุดา กุลาวาชัย.
By: วิชชุดา กุลาวาชัย, ผู้แต่ง.
Contributor(s): อารยา ประเสริฐชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา.
| ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา.
| มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา.
Call number: Thes วส 2 ว622 2561 Material type: 


Item type | Location | Location | Call number | Copy number | Barcode | Status | Date due |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
ODI General Collection | ODI Theses | Thes วส 2 ว622 2561 (Browse shelf) | 1 | 1000530012 | Available |
พิมพ์ดีด (ถ่ายสำเนา)
วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561.
บรรณานุกรม: แผ่นที่ [64]-67.
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจับคู่แปรงฟันต่อการลดแผ่นคราบจุลินทรีย์ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และเปรียบเทียบดูความแตกต่างของค่าเคลี่ยคราบจุลินทรีย์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการดำเนินการ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน จำนวน 2 ห้อง ได้แก่ ห้องประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 26 คน กำหนดเป็นกลุ่มทดลองและห้องประถมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 27 คน กำหนดเป็นกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการจับคู่แปรงฟันหลังอาหารกลางวัน ซึ่งเป็นกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียนที่มีการจับคู่ระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกันเองเพื่อดูแลซึ่งกันและกันในเรื่องการแปรงฟันและสามารถตรวจความสะอาดช่องปากหลังการแปรงฟันให้แก่กันและกันได้ ทั้งนี้ในการทดลองได้ทำการตรวจคราบจุลินทรีย์ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการดำเนินการ ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2561 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การทดสอบลำดับที่โดยเครื่องหมายของวิลค็อกซัน และการทดสอบแมนน์-วิตนีย์ ผลการวิจัยพบว่าโปรแกรมการจับคู่แปรงฟันสามารถลดแผ่นคราบจุลินทรีย์ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อำเภอเมือง จังหวัดน่านได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบดูความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคราบจุลินทรีย์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการทดลองพบว่า ค่าเฉลี่ยคราบจุลินทรีย์ของกลุ่มทดลองมีค่าน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
There are no comments for this item.