ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานสาธารณสุขของสาธารณสุขอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี = Factors related to public health administration of district public health officers in Kanchanaburi Province / นายไชยพัทธ์ ภูริชัยวรนันท์.
By: ไชยพัทธ์ ภูริชัยวรนันท์, ผู้แต่ง.
Contributor(s): ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา.
| วรางคณา จันทร์คง, อาจารย์ที่ปรึกษา.
| มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา.
Call number: Thes วส 2 ช94 2561 Material type: 




Item type | Location | Location | Call number | Copy number | Barcode | Status | Date due |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
ODI General Collection | ODI Theses | Thes วส 2 ช94 2561 (Browse shelf) | 1 | 1000530014 | Available |
พิมพ์ดีด (ถ่ายสำเนา)
วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561.
บรรณานุกรม: แผ่นที่ [91]-99.
การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้อำนาจหน้าที่ และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสาธารณสุขอำเภอ (2) การบริหารงานสาธารณสุขของสาธารณสุขอำเภอ และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้อำนาจหน้าที่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสาธารณสุขอำเภอ กับการบริหารสาธารณสุขของสาธารณสุขอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้บริหารสาธารณสุขในระดับอำเภอ จำนวน 158 คน ประกอบด้วย สาธารณสุขอำเภอ จำนวน 13 คน และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 145 คน โดยศึกษาทุกหน่วยประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติพรรณนา แสดงด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 50.22 ปี ระยะเวลาการปฏิบัติงานในกระทรวงสาธารณสุขเฉลี่ย 28.98 ปี มีระยะเวลาปฏิบัติงานในหน่วยงาน ปัจจุบันเฉลี่ย 15.85 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี การรับรู้อำนาจหน้าที่สาธารณสุขอำเภอและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสาธารณสุขอำเภอ อยู่ในระดับมาก และการปฏิบัติ ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสาธารณสุขอำเภออยู่ในระดับมาก (2) การบริหารสาธารณสุขของสาธารณสุขอำเภอ อยู่ในระดับมาก และ (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานสาธารณสุขของสาธารณสุขอำเภออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้อำนาจหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสาธารณสุขอำเภอ (p-0.001) และระดับการศึกษา (p<0.05).
There are no comments for this item.