การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลการวิจัยการเรียนการสอน = Development of a Distance Training Package on Data Analysis and Research Presentation on method of Classroom Research / ผู้วิจัย, สมถวิล วิจิตรวรรณา, รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์ และสุนิสา จุ้ยม่วงศรี.
By: สมถวิล วิจิตรวรรณา.
Contributor(s): รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์.
| สุนิสา จุ้ยม่วงศรี.
Call number: H62.5 ส43 2558 Material type: 
Item type | Location | Location | Call number | Copy number | Barcode | Status | Date due |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
NK General Collection | NK General Collection | H62.5 ส43 2558 (Browse shelf) | 1 | 1000431276 | Available | |
![]() |
NW General Collection | NW General Collection | H62.5 ส43 2558 (Browse shelf) | 1 | 1000439467 | Available | |
![]() |
ODI General Collection | ODI General Collection | H62.5 ส43 2558 (Browse shelf) | 1 | 1000510015 | Available |
Browsing NK General Collection Shelves , Shelving location: NK General Collection Close shelf browser
บรรณานุกรม: หน้า [43]-44.
วัตถุประสงค์การวิจัยในครั้งนี้คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดอบรมทางไกลเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลการวิจัยการเรียนการสอน 2) เพื่อประเมินความรู้เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลการวิจัยการเรียนการสอน และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อชุดฝึกอบรมมางไกล คณะผู้วิจัยได้จัดทำเอกสารชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลงานวิจัยการเรียนการสอน จำนวน 5 หน่วย ดังนี้ 1) การเลือกใช้สถิติและการเตรียมวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย 2) การวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือ 3) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ 4) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และ 5) การนำเสนอผลการวิจัย ชุดการฝึกอบรม โครงสร้างแต่ละหน่วยประกอบด้วยแบบประเมินตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน เอกสารเนื้อหาความรู้ และแบบฝึกปฏิบัติประจำหน่วย คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ จัดส่งชุดการสอนทางไกลไปให้ผู้สมัครเข้าอบรมจำนวน 35 คน ศึกษาล่วงหน้าและการอบรมสรุปความรู้ การนำเสนอและการวิพากษ์งาน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่สมัครเข้ารับการอบรม จำนวน 25 คน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าขนาดอิทธิพล ผลการวิจัยพบว่า ชุดฝึกอบรมทางไกลที่สร้างขึ้นมีคุณภาพของชุดฝึกอบรมที่ตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้าอบรมก่อนและหลังการอบรม มีความแตกต่างกันในระดับมาก คือมีค่าขนาดอิทธิพล (Effect Size)เท่ากับ 1.14 ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในชุดฝึดอบรมทางไกลเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลการวิจัยการเรียนการสอนภาพรวมและทุกรายการในระดับมากที่สุด.
งานวิจัยนี้ได้รับทุนบริการวิชาการแก่สังคม (อิงการวิจัย) ปีงบประมาณ 2557 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
There are no comments for this item.